ชุดกรองลมนิวเมติกส์ (Pneumatic Filter)

หลักการทํางานของฟิลเตอร์

นิวเมติกส์ ฟิลเตอร์ หรือ ชุดกรองลมนิวเมติกส์ แบบทั่วไป ทำหน้าที่กรองน้ำ และสิ่งเจือปนต่างๆ ออกจากกระแสลมอัด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ต่างๆ หากมีน้ำเข้าไปในระบบ  ในขณะที่ลมเข้าสู่ตัวกรอง  แผ่นกั้นภายในจะสร้างการเคลื่อนที่หมุนวน แบบไซโครน เพื่อให้สิ่งเจือปนและของเหลวถูกแรงเหวี่ยงออก ปะทะด้านข้างของถ้วยฟิลเตอร์ แล้วตกลงไปที่บริเวณก้นถ้วยฟิลเตอร์

 ในถ้วยฟิลเตอร์จะมีตัว baffle เป็นตัวทำหน้าที่ให้ลมหมุนวนแบบไซโครนแล้ว ยังต้องมีไส้ฟิลเตอร์เพื่อดักน้ำ และสิ่งเจอปนที่ถูกกรองออกแล้วนั้น ไม่สามารถไหลปนกลับไปในลมอัดได้อีก

 ไส้ฟิลเตอร์ สำหรับใช้งานทั่วไปมีความละเอียดอยู่ที่ 5 µm ดังนั้นอนุภาคขนาดใหญ่กว่า 5 µm (ขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมของมนุษย์)  จึงถูกกรองออกจากระบบลม

อย่างไรก็ตาม ความละเอียดของไส้ฟิลเตอร์ อาจมีขนาด 20 ไมครอน หรือ 40 ไมครอนก็ได้ เพราะฉะนั้น การเลือกขนาดของความละเอียดไส้กรอง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของอากาศบริเวณปั้มลมว่ามีความชื้นและเศษฝุ่นละอองมากน้องแค่ไหน และความต้องการคุณภาพของลมอัด ของอุปกรณ์นิวเมติกส์ของเรา (ความละเอียดของไส้กรอง ตัวเลขน้อยคือละเอียดมาก เช่น 5 ไมครอน จะละเอียดมากกว่า 20 ไมครอน และ 40
ไมครอนตามลำดับ

การดูแลบำรุงรักษาฟิลเตอร์

จำเป็นต้องดูแลฟิลเตอร์ โดยการกำจัดน้ำและสิ่งเจือปนอื่นๆ เป็นประจำ เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันของตัวกรอง ดังนั้น ระบบ Automatic Drain ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบำรุงรักษา เมื่อน้ำเต็มก้นถ้วย ระบบจะทำการ Drain น้ำทิ้งอัตโนมัติ ในกรณีที่หน้างานที่เข้าถึงฟิลเตอร์ ลำบาก
หรือ ไม่มีเวลาตรวจเช็ค และป้องกันการบกพร่องของพนักงาน (Human Error)

ซึ่งหากเราไม่ทำความสะอาดฟิลเตอร์ อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้แรงดันของลมอัดลดลง (Pressure Drop) ดังนั้นฟิลเตอร์ ควรได้รับการตรวจ
สอบ และเปลี่ยนใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นประจำ

จากการใช้งานเฉลี่ย ควรมีการเปลี่ยนไส้ฟิลเตอร์ ทุกๆ ปี

 

การดูแลถ้วยฟิลเตอร์

ถ้วยฟิลเตอร์พลาสติก ที่ใช้กับลมอัดทำจากโพลีคาร์บอเนตที่มีความแข็งแรงสูง ซึ่งเป็นวัสดุโปร่งใส ที่ทนทานมาก แต่อาจเกิดความเสียหายได้ หากมีสิ่งเจือปน เช่น แอลกอฮอล์ หรือก๊าซเหลว น้ำมันคอมเพรสเซอร์ ควันจากตัวทำละลาย และสารอื่นๆ

ควรมีการทำความสะอาดถ้วยฟิลเตอร์ (โดยการเช็ดภายในและภายนอกด้วยผ้าแห้งสะอาด) ตรวจสอบดูหากมีรอยร้าวหรือบนพื้นผิวเกิดขึ้น เป็นข้อบ่งชี้ว่าอากาศที่เข้ามามีการปนเปื้อนของสารอันตราย ที่ระบุ ฉะนั้นการเลือกถ้วยพลาสติก โพลีคาร์บอเนตนี้อาจไม่เหมาะสม ควรเลือกเป็นถ้วย Metal แทน เพื่อความปลอดภัย ในการใช้งาน

สารที่สามารถทำให้ถ้วย Filter พลาสติกโพลีคาร์บอเนตเสียหาย ได้แก่  acetone, ammonia, benzene, brake fluids, carbon disulfide, carbon tetrachloride, ethyl acetate, ethylene glycol, Freon, lacquer thinner, nitrocellulose lacquer, sodium hydroxide, toluene, turpentine, และอื่นๆ อีกมากมาย

ไม่ควรใช้ถ้วยฟิลเตอร์ โพลีคาร์บอเนตที่อุณหภูมิสูงกว่า 125 F (52 C ) หรือ Pressure ที่สูงกว่า 150 psig (10 Bar) ห้ามใช้ที่กันถ้วย Metal Bowl

Master Pneumatic: High-Flow VANGUARD
Coalescing Filter Bowl Diagram

 

การ Drain น้ำออกจากถ้วยฟิลเตอร์

Manual Drain เป็นการระบายน้ำทิ้งที่ง่ายที่สุด แต่ต้องการ การดูแลบ่อยๆ เพื่อกำจัดน้ำและสิ่งสกปรกที่สะสมในก้นถ้วย หากฟิลเตอร์ อยู่ในตำแหน่งที่ยากต่อการเข้าถึง มันอาจจะไม่ถูกระบายบ่อยเท่าที่ควร ด้วยเหตุผลนี้ ระบบ Automatic Drain จึงเป็นอุปกรณ์มาตรฐานและเป็นวิธีที่ประหยัดต้นทุนได้มากกว่า ในการบำรุงรักษา

Tube-Away kits เป็นอุปกรณ์เสริม สำหับระบายน้ำและสิ่งสกปรกทิ้งออกไปด้านนอกพื้นที่การทำงานได้อย่างเหมาะสม              

HYDRO-JECTOR External Drains ระบบ Automatic Drain ที่ติดตั้งนอกถ้วยฟิลเตอร์ เพื่อระบายของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น              

WARRIOR Drain เป็นอุปกรณ์เสริม ซึ่งเป็นการควบคุมการระบายน้ำและสิ่งเจือปน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยการตั้งเวลาตามกำหนดได้ ว่าจะ Drain บ่อยแค่ไหน และครั้งละกี่วินาที

ISO Drain Symbol

Internal Automatic Drain

บ่อยครั้ง Manual Drain มักไม่สะดวกและการละเลยของคนงาน Manual Drain ต้องการ การดูแลบ่อยครั้งในการกำจัดน้ำที่สะสมและสิ่งสกปรกในถ้วย หากฟิลเตอร์อยู่ในตำแหน่งที่ยากจะเข้าถึง ฟิลเตอร์นั้นอาจไม่ระบายน้ำออกบ่อยเท่าที่ควร ระบบ Automatic Drain จึงเป็นอุปกรณ์มาตรฐานอีกทางหนึ่ง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของฟิลเตอร์ ยืดอายุการใช้งาน และลดความต้องการในการบำรุงรักษา

Internal Automatic Drain จะทำงานเมื่อเกิดแรงดันลดลง (Pressure Drop) ในถ้วยฟิลเตอร์ ประมาณ 2 PSI (0.14 Bar) หรือมากกว่าเกิดขึ้น ระบบ

Internal Automatic Drain จะทำการระบายของเหลวที่สะสม ซึ่งจะทำงานทุกครั้งที่มีการปิดลม Supply มา (ตอนเลิกงาน) ตัว Drain สามารถหมุนตัวปรับที่ก้นถ้วยฟิลเตอร์ว่าจะระบายมากน้อยแค่ไหนได้

Master Pneumatic: Automatic Internal Drain Operation
 
Master Pneumatic: General Purpose Filter Design Internal Drain
 

 

HYDRO-JECTOR EXTERNAL DRAIN

HYDRO-JECTOR Drains เหมาะสำหรับจุดที่มีลมผสมน้ำ หรือน้ำที่เกิดจากการควบแน่นของลมอัด ซึ่งเราต้องการระบายเฉพาะน้ำออก เช่น ปลายท่อลม, ใต้ถังปั้มลม, ถังพักลม เป็นต้น ซึ่งมันจะทำงานแบบต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และจะทำให้สูญเสียของลมอัด น้อยมาก เพราะมันจะระบายน้ำเมื่อมีของเหลวเท่านั้น

โดยอัตราการระบายอยู่ที่ 300 gallons (1135 liters) ต่อชั่วโมง ที่ 100 psig (6.9 bar)การระบายน้ำด้วยวิธี HYDRO-JECTOR Drain นี้ จะทำให้สูญเสียลมอัดน้อยกว่าระบบ Convention Drain และตัวนี้ยังมีวาล์วระบายน้ำแบบแมนนวลสำหรับการทำความสาดและการใช้งานในกรณีฉุกเฉิน แต่ HYDRO-JECTOR ไม่เหมาะกับลมอัดที่มีน้ำมันเจือปนมาก หรือมีโฟม

Hydro-Jector Section View

Master Pneumatic – High Flow Vanguard BFDRL289D 1 1/4″ and 1 1/2″

 

A COST EFFECTIVE SOLUTION TO THE REMOVAL OF WATER FROM A COMPRESSED AIR SYSTEM

การอัดอากาศให้อยู่ที่ประมาณ 6-7 Bar ซึ่งลมอัดนี้จะมีอุณหภูมิ ถึงประมาณ 182°C ในถังคอมเพรสเซอร์โดยปกติที่อุณหภูมิสูงนี้ และด้วยเครื่องบีบอัดอากาศที่พิกัด 450 scfm (210 l/s) ปริมาณไอน้ำที่สร้างขึ้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำ 3.5 แกลลอน (13 Liters) ทุกชั่วโมงของการทำงาน

เมื่ออากาศร้อนจะเกิดไอน้ำอิ่มตัว เช่น ที่จุด Dew Point  แม้แต่อุณหภูมิที่ลดลงน้อยที่สุด จะส่งผลให้เกิด “ Rain Storm” ภายในระบบอัดอากาศ น้ำและของเหลวจะสะสม จะต้องถูกกำจัดออกไป ก่อนที่จะสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับถ้วย Filter

VANGUARD หรือ SERIES 380 Heavy-Duty Filters ใช้กับท่อระบายน้ำ HYDRO-JECTOR เพื่อให้ต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพในการระบายน้ำออกจากระบบมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำได้ดี

การติดตั้ง FILTER/HYDRO-JECTOR: The VANGUARD และ Filter SERIES 380 ต้องสั่งพร้อม Option “LDC” สำหรับการระบายน้ำออก และ อะแดปเตอร์เกลียว 1/4”  โดยจะมียางเป็นตัว เว้นระยะ ระหว่างตัวกรองกับท่อระบายน้ำ

ในการอัดอากาศให้ได้ประมาณ 6-7 Bar นั้นตัวกระบอกลูกสูบปั๊มลม จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 180°C และปริมาณลมอัดที่ 210 ลิตร/วินาที จะเกิดไอน้ำประมาณ 13 ลิตร ต่อชั่วโมง

อ้างอิง: Master Pneumatic-Detroit Inc.

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา:

โทร: 02-384-6060  |  ไลน์: @flutech.co.th  | อีเมล: [email protected]  | เฟสบุ๊ค: @flutech.co.th