ความหมายของ IT และ OT
Definitions of IT and OT
เทคโนโลยีสารสนเทศ ไอที คืออะไร
What is Information Technology (IT)?
Computers and Information Technology (IT) หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความแม่นยํา และความรวดเร็วต่อการนํามาใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิเช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร และอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศตั้งแต่ ขั้นตอนการแสวงหา (Data Acquisition) การวิเคราะห์ (Data Analysis) การจัดเก็บ (Data Storage) ตลอดจนถึงการเผยแพร่สารสนเทศและแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Dissemination / Information Exchange) โดยการนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา โดยสรุป ไอทีจัดการกับข้อมูล
เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ โอที คืออะไร
What is Operational Technology (OT)?
Operational Technology (OT) หรือ เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน หมายถึง ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ตรวจสอบและควบคุมระบบ อุปกรณ์ เครื่องจักร กระบวนการ และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของอุตสาหกรรมการผลิต เช่น SCADA PLC RTU DCS ICS PAC และ MTU ระบบการดำเนินงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นรากฐานของโครงสร้างพื้นฐานหลักที่สำคัญ (Critical Infrastructure) ต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต อาทิเช่น ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อันได้แก่ การไฟฟ้า การประปา การบําบัดนํ้าเสีย การป้องกันอัคคีภัย การกำจัดขยะ การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ เทคโนโลยีด้านการปฏิบัติการควบคุมดูแลกระบวนการทางกายภาพ เช่น การผลิตเภสัชภัณฑ์ การผลิตพลังงาน และการบริหารจัดการอาคารสถานที่ เป็นต้น โดยสรุป โอทีจัดการกับเครื่องจักร
ความแตกต่างระหว่าง IT และ OT คืออะไร
WHAT IS THE DIFFERENCE BETWEEN IT AND OT?
เส้นแบ่งระหว่าง IT กับ OT นั้นบางมาก Computers and Information Technology รวมองค์ประกอบต่างๆ เช่น เช่น เซิร์ฟเวอร์ (Server) อุปกรณ์เครือข่าย (Network Device) และอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Device) ในขณะที่ Operational Technology จะรวมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทางอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์เชื่อมช่องว่างของการสื่อสาร หรือเกตเวย์ IoT (IoT Gateway) และระบบควบคุม (Control System) ต่างๆ
เมื่อพูดถึง IT ส่วนใหญ่มักนึกถึงการสนับสนุนด้านเทคนิคหรืองานบริการด้านเทคนิค แม้ว่าการแก้ไขปัญหาจะเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ แต่ IT ก็ทําหน้าที่อื่นๆ เช่น พัฒนาซอฟต์แวร์ การสื่อสาร ความปลอดภัยของข้อมูล การดูแลระบบ โครงสร้างพื้นฐาน เครือข่าย และระบบโทรคมนาคม
หน้าที่หลักของไอที คือการทำให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดได้รับการจัดการ ประมวลผล และจัดเก็บอย่างปลอดภัย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการเข้าถึงเครือข่าย (Network Access) สำคัญคือ ต้องแน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดปลอดภัยและมีการหาและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหยุดยั้งภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นผ่านการดำเนินการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)
โอทีมักถูกใช้ในการตรวจสอบและควบคุมการผลิตในโรงงานซึ่งแตกต่างจากไอทีที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก OT มีบทบาทสำคัญในการจัดการกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical World) ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในข้อกังวลหลักของ OT คือการหยุดทำงาน เวลาหยุดทำงาน หรือ Downtime หมายถึง เวลาที่หยุดการผลิตไม่ว่าจะมีการวางแผนไว้หรือไม่ก็ตาม การหยุดทำงานของการผลิตโดยไม่ได้วางแผน ไม่ว่าเพราะเครื่องจักรมีปัญหาหรือสายพานลําเลียงอุดตัน ทําให้เสียเวลาและทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นจึงต้องพยายามป้องกันการหยุดทำงานของเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด
วิธีหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันการหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผน หรือ Unplanned Downtime คือการใช้ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) ซึ่งเป็นระบบควบคุมอุตสาหกรรมประเภทหนึ่ง (Industrial Control System, ICS) ซอฟต์แวร์ SCADA ช่วยในการควบคุม PLC (ตัวควบคุมลอจิกที่ตั้งโปรแกรมได้) ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมเครื่องจักรในโรงงานการผลิต และสามารถช่วยป้องกันดาวน์ไทม์ได้โดยการปิดเครื่องจักรโดยอัตโนมัติหรือส่งเสียงเตือนในกรณีที่ระบบทำงานผิดปกติ
การผสานเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน เพื่อบูรณาการทุกอย่างเข้าด้วยกัน
IT/OT convergence – The Merging of Technologies
เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน OT และ เทคโนโลยีสารสนเทศ IT ส่วนใหญ่ยังคงเป็นนวัตกรรมที่แยกจากกัน แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การหลอมหรือบูรณาการระบบของทั้งสองเข้าด้วยกัน ได้กลายเป็นสิ่งที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ITOT Convergence ให้ประโยชน์มากมายทำให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นและขีดความสามารถอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ด้วยคุณประโยชน์และศักยภาพที่เพิ่มขึ้น ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงสำคัญที่ต้องพิจารณาด้วย โดยเฉพาะการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack)
IT/OT Convergence รวมเครื่องมือธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล (IT) เข้ากับเครื่องมือที่ใช้เพื่อควบคุมกระบวนการ (OT) และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 / Fourth Industrial Revolution/ 4IR) หรือยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัล ที่ได้ปรับปรุงพัฒนา การผลิต รารขนส่ง การค้าปลีก การดูแลสุขภาพ และอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย โดยให้อุปกรณ์เชื่อมต่อและข้อมูลเรียลไทม์ (Real-Time Data) ทำงานอัตโนมัติและแจ้งการดำเนินการผลิต
ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่มีการหลอมรวมเทคโนโลยี:
- การค้าปลีก (Retail)
- การผลิต (Manufacturing)
- การก่อสร้าง (construction)
คุณประโยชน์ของการบรรจบกันของเทคโนโลยี:
ไอที/โอทีคอนเวอร์เจนซ์ช่วยลดต้นทุนได้ ด้วยระบบอัตโนมัติ โรงงานต่างๆ สามารถลดระยะเวลาที่ช่างเทคนิคหรือวิศวกรใช้ในการปฏิบัติงานหรือควบคุมระบบ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าสายการผลิต สามารถตอบสนองต่อปัญหาได้เร็วขึ้น ก่อนที่จะเสียทรัพยากรหรือสร้างความเสียหายไปมากกว่าที่ควร
เนื่องจากการประสานกันของเทคโนโลยี่ทำให้สามารถคาดการณ์การบำรุงรักษาได้ หรือทําการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ Predictive Maintenance (PdM) จึงสามารถป้องกันยับยั้งการหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนจากการรบกวนการผลิตประจำวัน เมื่อจำเป็นต้องซ่อมบำรุงอุปกรณ์หรือเครื่องจักร แผนกซ่อมบำรุงอุปกรณ์สามารถกำหนดเวลาล่วงหน้าและประสานงานกับแผนกอื่น เช่น แผนกสโตร์/คลังสินค้า เพื่อจัดสรรอุปกรณ์และทรัพยากรสำรองตามความจำเป็น แทนที่จะพยายามแก้ปัญหาในมือโดยไม่มีแผนสำรองใดๆ ณ ตอนนั้น ในขณะที่การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventative Maintenance ช่วยลดเวลาหยุดทำงาน PM ก็สร้างปัญหาที่ต่างออกไป ได้แก่ เวลา Downtime ที่ไม่จำเป็นและทรัพยากรที่สูญเปล่า
การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ Predictive Maintenance (PdM) ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์หรือเวลาตั้งแต่การบำรุงรักษาครั้งล่าสุด ไม่ใช่เมื่อชิ้นส่วนสึกหรอ น้ำมันหล่อลื่นเหลือน้อย หรือตอนเครื่องจักรไม่ได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ กำหนดการซ่อมบํารุงเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันปัญหาในการบำรุงรักษา แต่บางครั้งนั่นหมายความว่าโรงงานกำลังใช้เวลา เงิน และพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่ไม่มีอยู่จริง PdM ใช้ข้อมูลที่วัดได้เพื่อตรวจจับสัญญาณเตือนของปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทําให้ไม่ทิ้งชิ้นส่วนที่ยังดีอยู่หรือทำการบำรุงรักษาบ่อยกว่าที่จําเป็น ระหว่างการดำเนินการอัตโนมัติและการเปิดใช้งานการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ การรวม OT และ IT สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
การพึ่งพาผู้ปฏิบัติงานหรือโอเปอเรเตอร์ผู้ควบคุมเครื่องทำให้เกิดปัญหาคอขวดหรือกระบวนการคอขวด (Bottlenecks / Bottleneck Process) ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่จำกัดผลผลิตของทั้งระบบ และมีรอบเวลาการผลิตช้าที่สุด หรือกำลังการผลิตต่ำที่สุด เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนในการส่งมอบสินค้า ทำให้เกิดเวลาสูญเปล่าหรือว่างงาน (ldle time) หรือเกิดงานสะสมจากสินค้าคงคลังที่อยู่ระหว่างกระบวนการผลิต Work in Process (WIP)
การรวมกันของ IT/OT เพิ่มโอกาสสำหรับระบบที่ทำงานผ่านการควบคุมจากคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเริ่มทำงานได้ด้วยตัวเองตามคำสั่งที่มนุษย์เป็นผู้ควบคุมเอาไว้ โดยไม่ต้องมีคนคุมอยู่เบื้องหลัง หรือมีจำนวนผู้ควบคุมน้อยที่สุด หรือที่เรียกว่า ระบบอัตโนมัติ Automation
ระบบอัตโนมัติสามารถลดความเสียหายและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้า และลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประจำได้อย่างมาก นอกจากนั้นยัง มันช่วยให้สามารถจัดการทรัพยากรได้ดีมากขึ้น
ทัศนวิสัยในการปฏิบัติงานหรือดำเนินการผลิตที่ดีขึ้น การมองเห็นแบบเรียลไทม์หรือตามเวลาจริง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับช่างเทคนิคในการปฏิบัติหน้าที่ในการตอบสนองต่อปัญหาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อปัญหาก่อนที่จะก่อให้เกิดอันตราย เนื่องจากการบรรจบกันของเทคโนโลยีช่วยให้ธุรกิจสามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง โอกาสในการจดจำรูปแบบและสร้างโปรไฟล์ของการดำเนินไลน์ผลิตปกติในโรงงานจึงถูกสร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น ในเดือนทั่วไป โรงงานจะมีวันและเวลาที่หนึ่งซึ่งใช้ทรัพยากรมากขึ้นอย่างมาก หรือเมื่ออุปกรณ์บางตัวต้องทำงานเป็นระยะเวลานานขึ้น การทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ช่วยให้คนงานสามารถรับรู้ความผิดปกติได้เร็วขึ้น
การรวม Real-Time Visibility และฐานข้อมูล Database เมื่อเวลาผ่านไป จะทําให้มีการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ หรือการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ หรือ Predictive Maintenance (PdM) ซึ่งช่างเทคนิคจะใช้ประสิทธิภาพปัจจุบันของอุปกรณ์เพื่อวางแผนและกำหนดเวลาการบำรุงรักษา แทนที่จะทําการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventive Maintenance (PM) หรือการดูแลสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในโรงงาน ที่ใช้การตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ตามเวลาที่ได้มีการกำหนดเจาะจงคงที่เอาไว้ (Fixed Interval Schedule)
ขึ้นอยู่กับธุรกิจอุตสาหกรรมแต่ละประเภท การบรรจบกันของเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานและเทคโนโลยีสารสนเทศ ITOT Convergence ทําให้สามารถเสนอโครงสร้างราคา หรือ Price Structure ซึ่งเป็นการวางแผนการกำหนดราคาสินค้าที่ต้องการจําหน่าย ตั้งราคาขายสินค้าต่อชิ้นให้สอดคล้องกับตลาดและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่บริษัทวางไว้ และเซอร์วิสบริการตามวิธีการใช้งานอุปกรณ์แต่ละชนิด แทนที่จะกำหนดเจาะจงหรือบังคับให้ลูกค้าซื้ออุปกรณ์ทันที ซึ่งอาจเกินความจำเป็นสําหรับการใช้งานระยะสั้นหรืองบประมาณที่จำกัด
ความท้าทายในการบรรจบกันของเทคโนโลยี:
การบรรจบกันของเทคโนโลยีโอทีและไอที จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสุดเมื่ออุปกรณ์เชื่อมต่อผสานรวมเข้ากับ Tech Stack หรือ ชุดเทคโนโลยีที่องค์กรใช้สร้างเว็บหรือแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างภาษาการเขียนโปรแกรม เซิร์ฟเวอร์ เฟรมเวิร์ก คลังโปรแกรม/ไลบรารี (Library) ข้อมูลหรือวิธีการหลบซ่อนของไวรัส (Pattern / DAT File / Engine) การออกแบบ UI / UX และซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมไปถึงเครื่องมือฝั่งหน้าบ้าน (Frontend) เช่น HTML CSS และ JavaScript เป็นต้น และ ฝั่งหลังบ้าน (Backend) เช่น Python Java MySQL Oracle หรือ JavaScript เป็นต้น ที่นักพัฒนาใช้ มิฉะนั้น วิศวกรจะต้องเข้าและออกจากพอร์ทัลและโซลูชันต่างๆ บ่อยครั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อมูลสำคัญบางอย่างหลุดรอดออกไป
คำว่า IoT หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) หมายถึง เครือข่ายรวมของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันและเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์ ตลอดจนระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันเอง จากการเกิดขึ้นของชิปคอมพิวเตอร์ราคาไม่แพงและการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีแบนด์วิดท์สูง จึงทำให้ตอนนี้เรามีอุปกรณ์หลายพันล้านเครื่องที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น แปรงสีฟัน เครื่องดูดฝุ่น รถยนต์ และเครื่องจักรสามารถใช้เซ็นเซอร์เพื่อรวบรวมข้อมูลและตอบสนองต่อผู้ใช้ได้อย่างชาญฉลาด
ระบบ IoT โดยทั่วไปทำงานด้วยการรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดยระบบ IoT มีองค์ประกอบสามส่วน ได้แก่ อุปกรณ์อัจฉริยะ (เช่น โทรทัศน์ กล้องรักษาความปลอดภัย หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่มีความสามารถในการประมวลผล) แอปพลิเคชัน IoT และส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (HMI)
IoT สำหรับอุตสาหกรรม (IIoT) หมายถึง อุปกรณ์อัจฉริยะที่ใช้ในแวดวงการผลิต การค้าปลีก สุขภาพ และองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้างประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยอุปกรณ์เชิงอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่เซ็นเซอร์ไปจนถึงเครื่องมือ ให้ข้อมูลโดยละเอียดแบบเรียลไทม์แก่เจ้าของธุรกิจ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจได้ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โลจิสติกส์ ทรัพยากรบุคคล และการผลิต โดยการลดต้นทุนและเพิ่มแหล่งที่มารายได้อีกด้วย
อุปกรณ์ IoT ทุกเครื่องถูกสร้างขึ้นเพื่อทำงานกับโซลูชันการเชื่อมต่อเฉพาะ เช่น เซลลูลาร์, อินเตอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) บลูทูธ (Bluetooth) อีเธอร์เน็ต (Ethernet) หรือ เทคโนโลยีสัญญาณวิทยุ LoRaWAN เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละเครื่องถูกจำกัดการใช้งานเฉพาะทาง เทคโนโลยีพื้นฐานนี้มีขีดจำกัด
อย่างไรก็ตาม ในสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมที่การรักษาความปลอดภัยมีความสำคัญ ข้อกังวลหลักคือเครือข่ายมีพื้นที่เก็บข้อมูลเพียงพอที่จะอำนวยความสะดวกในการอัปเดตเฟิร์มแวร์ตลอดอายุการใช้งานของอุปกรณ์หรือไม่ นี่เป็นหนึ่งในส่วนที่ทําให้โซลูชัน IoT สำหรับเซลลูลาร์ เช่น EMnify excel เป็นที่นิยม เพราะความอเนกประสงค์ พร้อมใช้งานเกือบทุกที่ และปริมาณงานหรือทรูพุตที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ (Network Throughput) มีเพียงพอ
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือต้องไม่แชร์เครือข่ายกับอุปกรณ์อื่น แม้ว่าอุปกรณ์ IoT เองจะปลอดภัย แต่อุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายก็อาจกลายเป็นช่องทางสำหรับแฮ็กเกอร์ ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ IoT เสียหายได้เช่นกัน เครือข่ายเช่น WiFi และ LoRaWAN แบบสาธารณะ สามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลที่สาม ทำให้มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ
ในอดีต อุปกรณ์ IoT มีความเสี่ยงที่จะถูกแฮก อุปกรณ์บางอย่างส่งข้อมูลที่ไม่ได้เข้ารหัส (Unencrypted Data) ซึ่งสามารถถูกสกัดกั้นและยักย้ายถ่ายเทได้ง่าย IoT มักจะมีพลังงานน้อยเกินไปที่จะรองรับฟีเจอร์ความปลอดภัยขั้นสูง และสามารถถูกลักลอบนําไปใช้ในบอตเน็ต (Botnet / Robot Network) ซึ่งใช้การโจมตีแบบดีดอส หรือ DDoS (Distributed Denial-of-Service) เพื่อทำลายเครือข่ายขนาดใหญ่ และด้วยความใกล้ชิดกับข้อมูลและอุปกรณ์ที่มีค่าสามารถทำให้เทคโนโลยีนี้กลายเป็นขั้นตอนก้าวย่างที่อันตรายสู่เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น
แผนกไอทีต้องทำความคุ้นเคยอย่างใกล้ชิดและละเอียดรอบคอบ ว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแต่ละชิ้นเข้ากับระบบนิเวศเทคโนโลยีของธุรกิจได้อย่างไร และศึกษาภัยคุกคามใดๆ ที่สามารถเกิดกับเครือข่ายหรือระบบ ในบางกรณี ทีมปฏิบัติการจะต้องประนีประนอมกับฟังก์ชันการทำงานบางอย่างที่พวกเขาต้องการใช้กับโซลูชัน แล้วหันมาใช้ฟังก์ชันที่ปลอดภัยกว่า
มันไม่ง่ายเหมือนการกดปุ่มเปิดปิดในการทลายกำแพงแบบเดิมๆ ระหว่างไอทีและโอที ช่างเทคนิคหรือผู้ปฏิบัติงานจําเป็นต้องการการฝึกอบรมเกี่ยวกับกระบวนการด้านนั้นๆ สิ่งนี้ทำให้ช่างเทคนิคที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกันต้องสื่อสารกันบ่อยขึ้น การบรรจบกันของ IT/OT จำเป็นต้องเปลี่ยนกรอบความคิดและการผสานรวมของกระบวนการแยกแบบดั้งเดิมเหล่านี้ ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT และ OT จะต้องไว้วางใจและพึ่งพาความเชี่ยวชาญของกันและกันเพื่อสร้างโซลูชันที่สนับสนุนการปฏิบัติงานโดยไม่ลดทอนความปลอดภัย
อ้างอิง: Asset Guardian, Cisco, Coolfire, Onlogic, The Growth Master, RedHat, โรงเรียนหนองหานวิทยา, TechTarget, SSH, Burapha University, EMnify, Amazon