อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือ Automotive Industry เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยบริษัทและองค์กรต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา การผลิต การตลาด และการจัดจำหน่ายยานยนต์ละชิ้นส่วนต่างๆ เช่น เครื่องยนต์และตัวถัง
Pneumax Automotive Division
แผนกยานยนต์ของนิวแม็กซ์
แผนกยานยนต์ หรือ Automotive Division ของ Pneumax ออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ครบวงจรสำหรับสายการผลิตยานยนต์โดยเฉพาะ โดยเน้นที่ขั้นตอนการประกอบโครงของรถยนต์ หรือ Body-in-White เป็นหลัก
Pneumax มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งถูกพัฒนาโดยทีมช่างเทคนิคอุตสาหกรรมเฉพาะทาง เช่น ชุดเปิด-ปิดแม่พิมพ์ (Clamping Units) ชุดเดือยหมุน (Pivot Units) แพ็คเกจพินหรือตัวเชื่อมต่อคอนเนคเตอร์ (Pin Packages or Automotove Connectors) กริปเปอร์ (Grippers) และระบบกำหนดตำแหน่งการทำงานของชิ้นงานแบบหลายแกน (Complete Multi-Axis Positioning Systems) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ ความแม่นยำ ความสม่ำเสมอ ความเสถียรภาพ และมีประสิทธิภาพสูง ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ของนิวแมกซ์ได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้พลังงานซึ่งผ่านการออกแบบที่ถูกจดสิทธิบัตรแล้ว เป็นโซลูชั่นการประหยัดพลังงานที่ดีที่สุดในตลาดตอนนี้ – Pneumax เป็นผู้ผลิตกระบอกลมสำหรับงานอุตสาหกรรมยานยนต์
ขั้นตอนการผลิตและการทดสอบผลิตภัณฑ์ทุกขั้นตอนถูกดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ ณ สำนักงานใหญ่ของ Pneumax ที่เมืองลูราโน แคว้นลอมบาร์เดีย จังหวัดแบร์กาโม ประเทศอิตาลี [Lurano (BG), Italy] ที่มีแผนกเฉพาะทางและทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมอุปกรณ์พิเศษมากมาย
Product Type of the Automotive Division
ประเภทสินค้าในหมวดยานยนต์
Pneumax Automotive Division // The ultimate clamping technology
แคลมป์ หรือ Clamp เป็นอุปกรณ์สำหรับยึดจับชิ้นงานหรือยึดสิ่งของเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันการเคลื่อนที่หรือแยกออกจากกันโดยใช้แรงดันกดเข้าด้านใน (Inward Pressure) อุปกรณ์ประเภทนี้สามารถใช้ได้ในพื้นที่หน้างานอุตสาหกรรมการผลิตเกือบทุกที่ แคลมป์นั้นมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ การเชื่อมต่อแบบแข็งของ Pneumax ป้องกันการหนีบโดยฝืนของอุปกรณ์ยึดหนีบชิ้นงาน จากการแคลมป์สองชิ้นงานเข้าด้วยกัน และยังสามารถตรวจจับความผิดปกติดังกล่าวในกระบวนการได้ทันที
แขนหนีบแคลมป์จับยึดอุตสาหกรรมช่วยให้สามารถติดตั้งส่วนประกอบบนแท่นยึดได้ เทคโนโลยีการจับยึดเป็นวิธีการยึดชิ้นงานหรือเครื่องมือที่สามารถกลึงชิ้นงานได้ชนิดหนึ่ง อุปกรณ์จับยึดควรยึดชิ้นงานให้เข้าที่ ปราศจากการสั่นสะเทือนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยไม่ทำให้ชิ้นงานเสียรูปทรง
เรียนรู้เพิ่มเติมและเลือกดูผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ระบุตำแหน่งมีระดับความแม่นยำสูง เพิ่มการป้องกันจากเศษและควันจากการตัดเชื่อม (Welding Debris) และการกัดกร่อนได้สูง
กริปเปอร์แคลมป์นิวเมติกส์ พร้อมมุมเปิดที่ปรับได้อย่างเต็มที่ ด้วยกลไกข้อต่อสลับ กลไกการปรับมุมนี้ มีความน่าเชื่อถือสูง และเมื่อเวลาผ่านไป กลไกแบบบูรณาการยังช่วยยึดตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้แล้ว และป้องกันการเลื่อนองศาการกระจัดมุมได้ กลไกการยึด (Retain Mechanism) จะยึดเครื่องมือเข้ากับที่และป้องกันไม่ให้ประแจอัลเลนหรือประแจหกเหลี่ยม (Allen Wrench) หล่นลงมาระหว่างขั้นตอนการปรับ แม้จะไม่มีลมอัด แคลมป์สามารถล็อคแบบเปิด-ปิดได้โดยใช้วิธีการปรับแบริ่งลูกกลิ้งแบบปิดผนึก (Sealed Roller Bearings) โดยไม่ต้องใช้วาล์วควบคุมอัตราการไหลหรือบอลวาล์ว (Flow Control Valve / Ball Valve) แถมยังมีปุ่มปลดล็อคแบบแมนนวลเพื่อเปิดการเชื่อมโยงเมื่อความดันอากาศถูกปล่อยออกระหว่างการตั้งค่า พอร์ตลมจะอยู่ทั้งสองด้านของกระบอกสูบ
เรียนรู้เพิ่มเติมและเลือกดูผลิตภัณฑ์“Pivot” คือการหมุนหรือเปลี่ยนทิศทาง ดังนั้นเทคโนโลยีนี้ก็คือ เดือยหรือแกนสั้นที่สิ่งอื่นหมุนรอบ Pneumax มีเดือยที่ทรงพลัง แข็งแกร่ง ทนทาน และเชื่อถือได้ เพื่อหมุนหรือทิ้งชิ้นงานได้อย่างแม่นยำ ตามสภาพการทำงานต่างๆ
ตัวระบุตำแหน่ง NC Locator ถูกใช้เพื่อจัดตำแหน่งตัวยึด (Brackets) ตัวหนีบ (Clamps) หรือเพื่อรวมศูนย์ (Centralize) ตลอดจนการรวมส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เข้าด้วยกัน เครื่องระบุตำแหน่ง Positioning Locator ของ Pneumax มีแอคทูเอเตอร์หัวขับไฟฟ้าสอดแทรกอยู่ (Interpolated Electric Actuators) มาพร้อมกับ บอลบุชชิ่ง (Ball Bushings / Linear Bushing) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรองแกนเพลาและรับโหลดการทำงานของเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เคลื่อนไหวเป็นแนวเชิงเส้นให้ทำงานได้อย่างราบรื่น และเซอร์โวมอเตอร์ไร้แปรงถ่าน (Brushless Servo Motors) ทั้งหมดนี้ถูกควบคุมโดยระบบไดรเวอร์ดิจิทัล (Digital Driver System) ที่มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างระบบปฏิบัติการ (Operating System) อุปกรณ์ (Device) ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ (Hardware Components) ต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์ (Application Software / Application Program) ต่างๆ เพื่อให้ส่วนประกอบเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้ องค์ประกอบเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อให้สามารถจัดตำแหน่งทางเรขาคณิตได้
การเลือกชิ้นส่วนนิวแมติกส์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์สามารถทำได้อย่างง่ายดาย นิวแมกซ์ เป็นซัพพลายเออร์ที่ใช้นโยบายผู้จัดหารายเดียว หรือ One-Source Supplier ซึ่งก็คือ การจัดซื้อสินค้าหรือวัสดุจากซัพพลายเออร์รายเดียว สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใข้ในอุตสาหกรรมการผลิตหรือประกอบยานยนต์ นิวแมกซ์ มีกลุ่มผลิตภัณฑ์มากมายที่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบของ Automotive Manufacturing and Assembling Industry ได้แก่ ไดรฟ์นิวแมติก (Pneumatic Drives) วาล์ว (Valves) ขั้ววาล์ว / วาล์วเทอร์มินอล (Valve Terminals) อุปกรณ์เตรียมอากาศอัด (Compressed Air Preparation Equipment) บล็อกควบคุมการสื่อสาร (Communication Control Blocks) กริปเปอร์ (Grippers) ชุดเปิด-ปิดแม่พิมพ์ (Clamping Units) ตัวระบุตำแหน่ง (Locating Equipment) และเดือยหมุน (Pivot Devices) สำหรับขั้นตอน BIW
อุปกรณ์เสริมของ Pneumax มีเซ็นเซอร์ (Sensors) สายเคเบิลเซ็นเซอร์ (Sensor Cables) อุปกรณ์ยึดอัตโนมัติ (Auto-Retaining Device) แผ่นชิม (Shims) และสเปเซอร์ (Spacers) /แผ่นปะซ่อม หรือ Shim คือ วัสดุชิ้นเรียวบางหรือเป็นลิ่มที่ถูกใช้เพื่ออุดช่องว่างเล็กๆ หรือช่องว่างระหว่างวัตถุ ถูกเตเปอร์หรือเวดจ์ (Tapered or Wedged) แผ่นชิมมักใช้เพื่อรองรับ ปรับให้พอดีขึ้น หรือให้พื้นผิวเรียบเสมอกัน และอาจใช้เป็นตัวเว้นระยะเพื่อเติมช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนที่อาจสึกหรอได้ สเปเซอร์ ตัวเว้นระยะ หรือตัวจับแยก (Spacer / Standoff) คือ ส่วนประกอบที่มีขนาดคงที่ซึ่งออกแบบมาเพื่อแยกส่วนอื่นๆ อีกสองส่วนด้วยจำนวนที่ทราบ
เรียนรู้เพิ่มเติมและเลือกดูผลิตภัณฑ์Product Development
การพัฒนาผลิตภัณฑ์
Research, Development, and Innovation of Solutions in line with Industry 4.0 Principles
วิเคราะห์และประเมินความต้องการทางการตลาด และการระบุข้อมูลจำเพาะ เช่น สเปค ของผลิตภัณฑ์โดยการจัดการผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายในองค์กร ตั้งแต่การพัฒนาสินคค้าและระบบ การทำวิจัยการตลาด การออกแบบแผนดำเนินการ (Roadmap) ไปจนถึงการนำผลตอบรับที่ได้กลับไปประมวลผลและปรับปรุงสินค้า โดยทีมงานโครงการจะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเทคนิคและกำหนดระยะเวลาไทม์ไลน์
หลังจากทําการการวิเคราะห์การจำลองงานด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (Structural mechanics Simulation Analysis) แผนกวิจัยและพัฒนา หรือ ทีม R&D จะนำคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบการสร้างชิ้นส่วน (Part) ด้วยแบบจำลองทางเลขาคณิต (Geometry) ขึ้นรูปชิ้นส่วนหรือแบบจำลอง (Prototype Model) ขึ้นมาด้วย CAD หรือ Computer Aided Design ในรูปแบบดิจิทัล แล้วจะทําการพิมพ์ 3 มิติ ด้วยเครื่องพิมพ์ หรือปริ้นเตอร์ (3-Axis Printing-Moulding Machine) เพื่อผลิตแบทช์ต้นแบบชุดแรก
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาและผลิตขึ้นเองโดย Pneumax เพื่อประสานรวมเข้ากับระบบหรืออินเตอร์เฟซ กับโปรโตคอลการสื่อสารใดๆ ก็ได้
ตัวอย่างที่ใกล้เคียงผลิตภัณฑ์จริงชุดแรกได้ถูกกลึงหรือผลิตขึ้นรูปขึ้นมาโดยใช้เครื่องจักรรุ่นใหม่ล่าสุด เทคนิคการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ หรือ Failure Mode and Effect Analysis เรียกโดยย่อว่า FMEA จึงได้ถูกนํามาใช้เพื่อเพิ่มความไว้วางใจแก่ผลิตภัณฑ์ ลดอัตราขัดข้องของผลิตภัณฑ์ในระยะเริ่มแรกและระยะการใช้งานปกติ FMEA จะเน้นไปที่การคาดการณ์ปัญหาโดยวิธีการวิเคราะห์หน้าที่ของกระบวนการ จะทำการวิเคราะห์หน้าที่ (Function) ของกระบวนการในทุกขั้นตอนเพื่อการพิจารณาว่ากระบวนการมีหน้าที่ประการใด แล้วจึงคาดการณ์ถึงปัญหา หรือลักษณะของข้อบกพร่อง (Failure Mode) ซึ่งหมายถึง ความไม่สอดคล้องกับหน้าที่ของกระบวนการที่กำหนดไว้
มีการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับใบรับรองการทดสอบหรือไม่ และประเมินอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์อย่างเสมอ มากกว่าล้านรอบการทำงาน เช่น ในด้านความทนทาน เครื่องจักรหรืออุปกรณ์จะล้าเร็วหรือไม่ สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงที่หรือผันผวนได้หรือไม่ – Functional, Performance, and Temperature Tests
แผนกวิศวกรรมจะประเมินและนำเทคโนโลยีการผลิตและขั้นตอนการประกอบที่เหมาะสมที่สุดไปใช้โดยอิงจากผลลัพธ์ที่ได้รับจากช้โปรแกรมจำลอง 3 มิติ CAD หรือ Computer-Aided Design
ทีมอุตสาหกรรมและฝ่ายเทคนิคพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็น และมีการประเมินซัพพลายเออร์อย่างถี้ถ้วน
อ้างอิง: Pneumax, ThaiA, Keyence, CHI, Britannica, BLS, Statista, BOI, Timor-Leste Customs Authorities, OICA, PIER, TATC, MTEC, DYNACAST, LAGOS, TRUE, Logistics Cafe, Thomas
กรุณาติดต่อเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม: